<data:blog.title/> <data:blog.pageName/>

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

1. การควบคุมเงินสดรับ
- กำหนดระเบียบปฏิบัติภายในกำหนดให้เงินสดรับทุกรายการต้องนำฝากธนาคาร
- ควบคุมใบเสร็จรับเงิน ควรมีการออกใบเสร็จรับเงินให้สำหรับเงินที่ได้รับทุกจำนวนและใบเสร็จรับเงินควรจะมีเลขที่เรียงลำดับไว้ทุกฉบับ ใบเสร็จรับเงินที่ยังไม่ได้ใช้ควรรักษาไว้ในที่ซึ่งปลอดภัย และมีการทำทะเบียนคุมเพื่อให้ทราบจำนวนที่คงเหลืออยู่ในมือทั้งหมดและผู้ตรวจสอบกิจการควรทำการตรวจนับเป็นครั้งคราว ในกรณีที่มีการเบิกไปใช้แต่ละครั้ง ผู้เบิกต้องลงนามไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่เป็นใบเสร็จรับเงินที่ใช้แล้วจะต้องมีการตรวจสอบว่าได้มีการนำมาลงบัญชีครบทุกฉบับ และฉบับที่ยกเลิกจะต้องมีสำเนาอยู่ครบทุกฉบับพร้อมต้นฉบับ
- กำหนดหน้าที่ของผู้เก็บรักษาเงินสดไม่ให้เกี่ยวกับการบันทึกบัญชี
2. การควบคุมเงินสดจ่าย
- ใช้ระบบใบสำคัญเพื่อควบคุมการจ่ายเงินสด และใบสำคัญที่จ่ายเงินแล้ว ควรเก็บเข้าแฟ้ม
ไว้และประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” ลงบนใบสำคัญและเอกสารประกอบทุกใบ
- กำหนดผู้มีอำนาจลงนามในใบเบิกเงิน
- ใช้ระบบเงินสดย่อยกรณีมีรายจ่ายย่อย
3. ตรวจสอบยอดเงินสดในมือกับยอดคงเหลือในบัญชีเงินสด
เงินขาดและเกินบัญชี

ข้อมูลจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา

- เกิดจากการตรวจสอบยอดเงินสดคงเหลือในมือไม่เท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีเงินสด
อาจจะเป็นเงินขาดหรือเกินบัญชี
- เงินขาดบัญชี หมายถึง เงินสดในมือน้อย ่ายอดคงเหลือบัญชีเงินสด
- เงินเกินบัญชี หมายถึง เงินสดในมือมากกว่ายอดคงเหลือบัญชีเงินสด
สมุดเงินสด ใช้สำหรับบันทึกรายการที่เกี่ยวกับการรับเงินสด จ่ายเงินสดทุกกรณี จะต้องนำเอกสารประกอบการรับ จ่ายเงิน บันทึกรายการบัญชีในสมุดสดก่อนเสมอ สมุดเงินสดนอกจากจะทำหน้าที่เป็นสมุดบันทึกรายการขั้นต้นแล้วยังทำหน้าที่เป็นบัญชีแยกประเภทเงินสดด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก