<data:blog.title/> <data:blog.pageName/>

ขั้นเตรียมการก่อนการแนะนำส่งเสริม

1 แนะนำกลุ่มเกษตรกรที่ไม่มีเจ้าหน้าที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเพื่อมอบหมายกรรมการทำหน้าที่ในการบันทึกบัญชี และไม่ควรเป็นบุคคลคนเดียวกันกับกรรมการที่รับผิดชอบในการเก็บรักษาเงินสดของกลุ่มเกษตรกร
2 ก่อนการเข้าสู่ขั้นตอนและวิธีการในการบันทึกบัญชีในสมุดเงินสด ควรทำความเข้าใจกับคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ในการบันทึกรายการเงินสด ดังนี้
เงินสด หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภทแต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้
ความสำคัญและประโยชน์ของเงินสด
เงินสดเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือผลตอบแทนแก่กิจการ หรือให้ผลตอบแทนในอัตราต่ำมากไม่คุ้มกับต้นทุนของเงินทุน (Cost of capital) เงินสดเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องมากที่สุด (The most liquid asset) และสามารถเปลี่ยนมือได้ง่าย มีรายการรับ - จ่ายเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับรายการประเภทอื่น รายการเคลื่อนไหวของเงินสดที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งมีความสำคัญมากต่อกิจการ
การบริหารเงินสด
การบริหารเงินสด (Cash Management) ผู้มีหน้าที่บริหารเงินสดมีหน้าที่ 3 ประการ คือ
- กำหนดเงินสดในขนาดและเวลาที่เหมาะสมโดยใช้งบประมาณเงินสด
- การจัดสรรเงินสด หรือใช้ไปของเงินสดเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ของกิจการ - การจัดหาเงินสด หรือการได้มาของเงินสด เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินงานของกิจการ

ข้อมูลจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

1. การควบคุมเงินสดรับ
- กำหนดระเบียบปฏิบัติภายในกำหนดให้เงินสดรับทุกรายการต้องนำฝากธนาคาร
- ควบคุมใบเสร็จรับเงิน ควรมีการออกใบเสร็จรับเงินให้สำหรับเงินที่ได้รับทุกจำนวนและใบเสร็จรับเงินควรจะมีเลขที่เรียงลำดับไว้ทุกฉบับ ใบเสร็จรับเงินที่ยังไม่ได้ใช้ควรรักษาไว้ในที่ซึ่งปลอดภัย และมีการทำทะเบียนคุมเพื่อให้ทราบจำนวนที่คงเหลืออยู่ในมือทั้งหมดและผู้ตรวจสอบกิจการควรทำการตรวจนับเป็นครั้งคราว ในกรณีที่มีการเบิกไปใช้แต่ละครั้ง ผู้เบิกต้องลงนามไว้เป็นหลักฐาน ในกรณีที่เป็นใบเสร็จรับเงินที่ใช้แล้วจะต้องมีการตรวจสอบว่าได้มีการนำมาลงบัญชีครบทุกฉบับ และฉบับที่ยกเลิกจะต้องมีสำเนาอยู่ครบทุกฉบับพร้อมต้นฉบับ
- กำหนดหน้าที่ของผู้เก็บรักษาเงินสดไม่ให้เกี่ยวกับการบันทึกบัญชี
2. การควบคุมเงินสดจ่าย
- ใช้ระบบใบสำคัญเพื่อควบคุมการจ่ายเงินสด และใบสำคัญที่จ่ายเงินแล้ว ควรเก็บเข้าแฟ้ม
ไว้และประทับตรา “จ่ายเงินแล้ว” ลงบนใบสำคัญและเอกสารประกอบทุกใบ
- กำหนดผู้มีอำนาจลงนามในใบเบิกเงิน
- ใช้ระบบเงินสดย่อยกรณีมีรายจ่ายย่อย
3. ตรวจสอบยอดเงินสดในมือกับยอดคงเหลือในบัญชีเงินสด
เงินขาดและเกินบัญชี

ข้อมูลจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา

- เกิดจากการตรวจสอบยอดเงินสดคงเหลือในมือไม่เท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีเงินสด
อาจจะเป็นเงินขาดหรือเกินบัญชี
- เงินขาดบัญชี หมายถึง เงินสดในมือน้อย ่ายอดคงเหลือบัญชีเงินสด
- เงินเกินบัญชี หมายถึง เงินสดในมือมากกว่ายอดคงเหลือบัญชีเงินสด
สมุดเงินสด ใช้สำหรับบันทึกรายการที่เกี่ยวกับการรับเงินสด จ่ายเงินสดทุกกรณี จะต้องนำเอกสารประกอบการรับ จ่ายเงิน บันทึกรายการบัญชีในสมุดสดก่อนเสมอ สมุดเงินสดนอกจากจะทำหน้าที่เป็นสมุดบันทึกรายการขั้นต้นแล้วยังทำหน้าที่เป็นบัญชีแยกประเภทเงินสดด้วย

เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีในสมุดเงินสด

เอกสารที่ที่ใช้ในการบันทึกบัญชี แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เอกสารภายใน คือเอกสารที่กลุ่มเกษตรกรจัดทำขึ้นเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก หรือใช้ในกิจการของกลุ่มเกษตรกร เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับ ใบสำคัญจ่าย ใบรบเงินกู้ เป็นต้น
2. เอกสารภายนอก คือ เอกสารที่กลุ่มเกษตรกรได้รับจากบุคคล หรือหน่วยงานภายนอก เช่น ใบเสร็จรับเงิน ที่เกิดจากการซื้อสินค่ากรณีกลุ่มเกษตรกรซื้อสินค้าเป็นเงินสด ใบนำส่งเงินฝากธนาคาร บิลเงินสด เป็นต้น
เอกสารภายในที่กลุ่มเกษตรกรจัดทำขึ้น (ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีในสมุดเงินสด)
1. ใบเสร็จรับเงิน ใช้สำหรับบันทึกรายการรับเงินทุกประเภทที่กลุ่มเกษตรกรได้รับ โดยจัดให้มีสำเนา 2 ฉบับ ดังนี้
ต้นฉบับ ฉีกให้แก่ผู้ที่ชำระเงิน
สำเนาที่ 1 ฉีกออกใช้เป็นเอกสารประกอบการลงบัญชี
สำเนาที่ 2 ติดเล่มไว้เป็นหลักฐานของผู้เก็บรักษาเงินสด
2. ใบรับเงินขายสินค้า ใช้สำหรับบันทึกรายการรับเงินค่าผลิตผลหรือสินค้าอื่นที่ขายเป็นเงินสด จัดให้มีสำเนา 2 ฉบับ
ต้นฉบับ ฉีกให้แก่ผู้ซื้อ
สำเนาที่ 1 ฉีกออกใช้เป็นเอกสารประกอบการลงบัญชี
สำเนาที่ 2 ติดเล่มไว้เป็นหลักฐานของผู้เก็บรักษาเงินสด
3. ใบรับเงินกู้ ใช้สำหรับบันทึกรายการจ่ายเงินกู้ให้แก่สมาชิกโดยให้สมาชิกบันทึกรายการและเอกสารลงนามรับเงินกู้ไว้เป็นหลักฐาน (คนละ 1 ฉบับ) เพื่อกลุ่มฯ จะได้ใช้เป็นเอกสารประกอบการลงบัญชี
4. ใบเบิกเงิน ใช้สำหรับบันทึกรายการจ่ายเงินให้สมาชิก หรือผู้มิใช่สมาชิก ยกเว้น การจ่ายเงินกู้ให้แก่สมาชิก การจ่ายคืนเงินรับฝาก ดอกเบี้ย เนื่องจากกลุ่มเกษตรกรจัดทำเอกสารไว้ต่างหากแล้ว โดย ใบเบิกเงินให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการจ่ายเงินให้ผู้รับเงินลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานและให้มีการอนุมัติโดยผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินไว้ด้วย
5. ใบส่งเงินฝากของสมาชิก (จัดทำ 1 ฉบับ) ใช้สำหรับบันทึกรายการเงินฝากที่สมาชิกนำฝาก กับกลุ่มเกษตรกร โดยให้ส่งเงินฝากพร้อมกับสมุดคู่บัญชีเงินฝาก เมื่อกรรมการที่ทำหน้าที่ตรวจรับเงินถูกต้องแล้ว ให้สมาชิกที่ฝากเงินลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน และคืนสมุดคู่บัญชีเงินฝากให้กับสมาชิกเก็บไว้กับตัวเอง โดยมีการบันทึกรายการในสมุดคู่บัญชีให้ถูกต้องเป็นประจำทุกครั้งที่มีการรับฝาก
6. ใบถอนเงินฝากของสมาชิก (จัดทำ 1 ฉบับ ไม่มีสำเนา) เพื่อใช้สำหรับบันทึกรายการจ่ายคืน เงินฝาก โดยมีผู้มีอำนาจถอนเงิน ผู้ตรวจและผู้จ่ายเงินลงนามไว้เป็นหลักฐาน ถือเป็นเอกสารประกอบการลงบัญชีเกี่ยวกับการจ่ายคืนเงินฝาก ในการจ่ายคืนเงินฝากให้กลุ่มเกษตรกรบันทึกรายการถอนในสมุดคู่บัญชีที่ออกให้ผู้ฝากเป็นประจำทุกครั้งที่มีการจ่ายคืน
7. ใบสำคัญรับ ใช้สำหรับบันทึกสรุปรายการเงินที่ได้รับประจำวันทั้งที่รับเป็นเงินสดและการรับชำระหนี้ต่าง ๆ ด้วย รวมทั้งเอกสารการเงินที่นำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากธนาคาร โดยจำแนกรายการรับเงินต่าง ๆ ตามประเภทบัญชีและให้แนบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการรับเงินประเภทนั้นกลัดติดไว้กับใบสำคัญรับด้วย ทั้งนี้ เว้นแต่สมุดคู่บัญชีเงินฝากธนาคาร ใบนำส่งเงินฝากธนาคาร
ใบสำคัญรับ เป็นหลักฐานที่ช่วยให้การบันทึกรายการในสมุดเงินสดเป็นไปโดยสะดวก เพราะได้จำแนกรายการเงินได้ตามประเภทบัญชี รวมทั้งจำแนกจำนวนเงินที่รับเป็นเงินสดที่จะนำไปบันทึกในสมุดเงินสด ด้านเดบิต
8. ใบสำคัญจ่าย ใช้สำหรับบันทึกสรุปรายการเงินจ่ายประจำวัน ทั้งที่จ่ายเป็นเงินสดโดยจำแนกรายการจ่ายเงิน ๆ ตามประเภทบัญชี และให้แนบเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการจ่ายเงินประเภทนั้น ๆ กลัดตัดไว้กับใบสำคัญจ่ายด้วย
ใบสำคัญจ่าย เป็นหลักฐานที่ช่วยให้การบันทึกรายการในสมุดเงินสดเป็นไปโดยสะดวกเพราะได้จำแนกรายการเงินไว้ตามประเภทบัญชี รวมทั้งจำแนกจำนวนเงินที่จ่ายเป็นเงินสดที่จะนำไปบันทึกในสมุดเงินสด ด้านเครดิต

ข้อมูลจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา

ขั้นตอน/วิธีการบันทึกบัญชีในสมุดเงินสด

1. การรวบรวมเอกสารหลักฐาน ดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้จากการ จดบันทึกรายการการเงินที่เกิดขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรในใบสำคัญต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเอกสารจากบุคคลภายนอก ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน บิลเงินสด หรือใบเบิกเงินกรณีไม่มีใบเสร็จรับเงิน บิลเงินสด และบุคลคลภายใน ซึ่งได้แก่ ใบเบิกเงิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีในสมุดเงินสด
2. บันทึกรายการในสมุดบัญชีเงินสด โดยปกติสมุดเงินตามแบบในระบบของกลุ่มเกษตรกร แบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านซ้ายหรือ เดบิต สำหรับบรรทุกรายการรับเงินสด ด้านขวาหรือ
เครดิต สำหรับบันทึกรายการจ่ายเงิน .ให้นำหลักฐานที่รวบรวมทำการบันทึกรายการในสมุดเงินสดให้เป็นปัจจุบัน แยกตามประเภทรายการ เช่น ใน 1 วันทำการ มีรายการใบเบิกเงินค่าเบี้ยเลี้ยงกรรมการ หลายฉบับให้สรุปค่าใช้จ่ายในชื่อบัญชี “ค่าเบี้ยเลี้ยง” เป็นจำนวนเงินทั้งหมดลงในใบสำคัญจ่าย 1 ใบ หลังจากนั้นนำยอดจำนวนเงินในใบสำคัญจ่ายลงบันทึกในสมุดเงินสดในด้านเงินสดจ่าย เป็นต้น
3. เมื่อสิ้นวันทำการให้รวมยอดจำนวนเงินทั้งด้านรับและด้านจ่าย หลังจากนั้น นำยอดเงินรวมทางด้านรับ บวกกับยอดเงินคงเหลือยกมา แล้วแสดงยอดรวมทั้งสิ้น เมื่อได้ยอดแล้วแล้วนำมาหักกับยอดรวมด้ายจ่าย ผลต่างที่ได้เป็นยอดเงินสดคงเหลือประจำวัน ไห้แสดงไว้เป็นรายการ “ เงินสดคงเหลือ ยกไป” จะทำให้ทั้งสองด้าน คือ ด้านรับและด้านจ่ายมียอดรวมจำนวนเงินทั้ง 2 ด้านเท่ากัน

ข้อมูลจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา

ขั้นตอนการบันทึกบัญชีในสมุดเงิน กรณี รับเงินสด

กรณี รับเงินสด

-รับเงินสดตามประเภทรายการ
-ออกใบเสร็จรับเงิน
-รวบรวบเอกสารการรับเงินสดแยกตามประเภทบัญชี เมื่อสิ้นวันจัดทำใบสำคัญรับสรุปยอดรายการรับ
-บันทึกบัญชีในสมุดเงินสดด้านเดบิต หรือด้านซ้าย
-ปิดบัญชีเงินสดประจำวัน


กรณี จ่ายเงินสด

-รวบรวบเอกสารการจ่ายเงินเงินสดแยกตามประเภทบัญชี เมื่อสิ้นวันจัดทำใบสำคัญจ่ายสรุปยอดรายการจ่าย
--ใบเสร็จรับเงิน
--ใบเบิกเงิน
--บิลเงินสด
-บันทึกบัญชีในสมุดเงินสดด้านเครดิต หรือด้านขวา
-ปิดบัญชีเงินสดประจำวัน

ข้อมูลจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา

ขั้นตอนการเตรียมเอกสารก่อนการบันทึกบัญชีเงินสด

1. รายการรับเงินสด
-ต้นฉบับให้ผู้ชำระเงิน
สำเนาที่ 1 ฉีกใช้เป็นเอกสารประกอบการลงบัญชี
สำเนาที่ 2 ติดเล่มไว้เป็นหลักฐานของผู้เก็บรักษาเงิน
-จัดทำใบสำคัญรับสรุปยอด ณ สิ้นวันทำการตามประเภทรายการ
-บันทึกบัญชีในสมุดเงินสด

2. รายการจ่ายเงินสดกรณีไม่มีใบเสร็จรับเงิน
-จัดทำใบเบิกเงินพร้อมระบุรายละเอียดการจ่ายเงิน.ให้ครบถ้วน
-จัดทำใบสำคัญจ่ายสรุปยอด ณ สิ้นวันทำการตามประเภทรายการ
-บันทึกบัญชีในสมุดเงินสด

รายการจ่ายเงินสดกรณีมีใบเสร็จรับเงิน
-ตรวจสอบใบเสร็จรับเงินที่ได้รับจากบุคคลภายนอกเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของใบเสร็จ
-จัดทำใบสำคัญจ่ายสรุปยอด ณ สิ้นวันทำการตามประเภทรายการ
-บันทึกบัญชีในสมุดเงินสด

วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเงินสด

เพื่อควบคุมการรับ จ่ายเงินสดและการเก็บรักษาเงินสดให้เป็นไปด้วยความเหมาะสม รัดกุมโดยกลุ่มเกษตรกรต้องกำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเงินของกลุ่มเกษตรกรในเรื่องต่อไปนี้
1. การรับเงินทุกกรณี จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้งว่าเป็นการรับเงินค่าอะไร จากสมาชิกหรือบุคคลภายนอก เขียนรายการและจำนวนเงินให้ถูกต้องชัดเจน ลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจหน้าที่รับเงิน มอบต้นฉบับให้แก่ผู้ชำระเงิน หากการเขียนจำนวนเงินในใบเสร็จรับเงินผิดพลาดให้ยกเลิกใบเสร็จรับเงินฉบับนั้น ให้เย็บต้นฉบับใบเสร็จที่ยกเลิกกับสำเนาใบเสร็จที่ยกเลิกไว้ด้วย แล้วเขียนใบเสร็จรับเงินขึ้นใหม่ให้ถูกต้อง
2. การจ่ายเงินทุกกรณี ต้องมีเอกสารการเงินของผู้รับเงินประกอบการจ่ายเงินทุกรายการและให้ผู้มีอำนาจจ่ายลงลายมือชื่อก่อน เอกสารประกอบการจ่ายนี้จะต้องเป็นเอกสารที่ถูกต้องสมบูรณ์จ่ายเพื่อกิจการของกลุ่มเกษตรกรอย่างแท้จริง ระบุสถานที่ วันเดือน ปีที่รับเงิน ประเภทหรือรายการเงิน
3. การเก็บรักษาเงินสด กลุ่มเกษตรกรต้องมีการกำหนดผู้มีอำนาจหน้าที่ในการเก็บรักษาเงินสด สถานที่ที่ปลอดภัย จำนวนเงินขั้นสูงที่เก็บรักษาได้ เงินส่วนที่เกินให้นำฝากธนาคารทันทีหรืออย่าช้าวันรุ่งขึ้นหรือวันแรกที่เปิดทำการในกรณีที่ไม่มีธนาคารในท้องถิ่น หรืออาจกำหนดมาตรการควบคุมรักษาเงินสดเพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้นตามความเหมาะสม และเพื่อให้การดำเนินการงานสอดคล้องกับหลักการควบคุมภายในที่ดี

ข้อมูลจาก สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา